เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินเรื่อง มารยาท มาตั้งแต่ยังแบเบาะ และจนสมัยนี้คำว่า มารยาท ก็ถูกนำมาใช้หลายบริบทกันไป แต่จะมีใครรู้บ้างว่าคำนี้มีที่มาอย่างไร และขอบเขตของมารยาทนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อเป็น Guideline ให้หลายคนที่กำลังหาคำตอบนำไปใช้ประโยชน์กัน
คำว่า มารยาท มีรากศัพท์มาจาก ภาษาสันสกฤต ที่อ่านว่า มรฺยาทา หมายถึง ข้อจำกัด / ขีดจำกัด / ขอบเขต
โดยในภาษาไทย มารยาท หรือ มรรยาท ให้ความหมายไว้ว่า กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ หรือก็คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคม โดย ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทยโดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น
และด้วยสาเหตุที่เยาวชนไทยมองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดการเผยแพร่ความรู้เรื่องมารยาทไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ให้วัยรุ่นไทยใส่ใจมารยาทมากขึ้นดังนี้
เพียงเท่านี้ถ้าเราทำตามข้างต้นที่กล่าวมาได้ นอกจากจะส่งผลดีให้กับตัวเราแล้ว ก็ยังดีต่อคนรอบข้างอีกด้วย การมีมารยาทไม่ใช่เรื่องยาก แค่เริ่มต้นง่ายๆ ที่ตัวเรา